ดนตรีและนาฏยกรรมล้านนา

ดนตรี การแสดงฟ้อนรำ และการขับขาน หรือศิลปะการแสดงอื่นๆ เช่น ฟ้อนเจิง การแสดงตีกลองสะบัดชัย ฯลฯ ที่แสดงออกถึงอัตลักษณ์ของชาวล้านนา

พบทั้งหมด 5 รายการ
 
 
กลองหลวง
กลองหลวง
กลองหลวง เป็นกลองหน้าเดียว มีขนาดใหญ่ เเละยาวมาก อาจกล่าวได้ว่าเป็นกลองที่มีขนาดใหญ่เเละยาวที่สุดของประเทศไทยก็ว่าได้ กลองหลวงเดิมนั้นเป็นที่นิยมกันในหมู่ชาว"ไทยอง" หรือเรียกอีกอย่างว่า "กลองห้ามมาร" อาจเนื่องจากเป็นกลองที่ใช้ตีสำหรับเวลามีงานบุญที่ยิ่งใหญ่ เช่นงานสมโภชพระธาตุ งานปอยหลวง เป็นต้น งานเหล่านี้ จะมีการนิมนต์พระอุปคุตซึ่งใช้หินจากแม่น้ำเป็นตัวแทนมาไว้ที่หออุปคุตในบริเวณจัดงาน เพื่อห้ามมิให้เหล่ามารเข้ามาทำลายพิธีงานบุญได้ เเละในการเเห่ก็จะใช้กลองหลวงด้วย ข้อมูล : สารานุกรมวัฒนธรรมภาคเหนือ เล่มที่ 3
เผยแพร่เมื่อ 12 พฤศจิกายน 2563 • การดู 5,804 ครั้ง
วงกลองล้านนา แผ่น4
วงกลองล้านนา แผ่น4
วงกลองล้านนา Lanna Percussion Music แผ่น 4 สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม   เต่งถิ้ง วงเต่งถิ้ง เป็นวงดนตรีประเภทปี่พาทย์ เครื่องดนตรีทุกชิ้นมีเสียงดังมาก ประกอบด้วยเครื่องเป่าและเครื่องตี เครื่องเป่าเป็นเครื่องเป่าประเภทปี่ที่เรียกว่า “แน” มี 2 เลาด้วยกัน คือ แนหน้อย (ขนาดเล็ก) และแนหลวง(ขนาดใหญ่) ส่วนเครื่องตีไก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม(เรียก-ป้าดไม้) ระนาดเอกเหล็ก (เรียกป้าดเหล็ก) ฆ้องวงใหญ่ (เรียกกลองป่งโป้ง)และกลองใหญ่คล้ายตะโพนมอญ (เรียกกลองเต่งถิ้ง) ชื่อวง “เต่งถิ้ง” ได้จากเสียงกลองใหญ่ที่ดัง “เต่ง- ถิ้ง” โอกาสที่บรรเลงมีหลายโอกาส ได้แก่ งานบุญงานวัด แห่ขบวน งานศพ งานฟ้อนผี นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงประกอบการชกมวย การฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบและฟ้อนม่านมุ่ยเชียงตาอีกด้วย มองเซิง มองเซิง เป็นวงกลองพื้นบ้านของชาวไทยใหญ่ เป็นที่นิยมกันในจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ ลำพูน และลำปาง คำว่า”มอง” หมายถึงฆ้อง และ”เซิง” หมายถึงชุด “มองเซิง” คือ”ฆ้องชุด” ซึ่งมักใช้ฆ้องตั้งแต่ 5-9 ใบ ใช้ฉาบขนาดใหญ่ตีประกอบ ส่วนกลองใช้กลองมองเซิง ซึ่งเป็นกลางสองหน้าไม่ติดถ่วง มีลักษณะคล้ายตะโพนมอญ แต่น้ำหนักเบากว่า วงมองเซิง ใช้ประโคมในงานบุญของวัด ขบวนแห่นาคสามเณรที่ล้านนาเรียก “ลูกแก้ว” ไทใหญ่เรียก”ส่างลอง”ขบวนแห่ครัวทานและประกอบการฟ้อนพื้นเมือง ปูเจ่ ปู่เจ่ เป็นชื่อของกลองชนิดหนึ่งเรียกต่างกันไป เช่น ปั๊ดเจ่ อุเจ่ อู่เจ่ เป็นต้น เดิมนิยมเล่นในหมู่ชาวไทยใหญ่ ซึ่งเรียกกลองชนิดนี้ว่า “กลองก้นยาว” เครื่องประกอบจังหวะของกลองปูเจ่มีฉาบขนาดกลาง 1 คู่ ฆ้องประมาณ 3-6 ใบ ใช้ตีในขบวนแห่ ตีประกอบการฟ้อนเชิง ที่ชาวไทยใหญ่เรียก “ก้าลาย” และการฟ้อนดาบที่ชาวไทยใหญ่เรียก “ก้าแลว” ตึ่งนง ตึ่งนง เป็นวงดนตรีที่ประกำอบด้วยเครื่องเป่าและตี เครื่องเป่าได้แก่ “แน” มี 2 เลา คือ แนหน้อยและแนหลวง เครื่องตีได้แก่ ฆ้องขนาดใหญ่ (เรียกก๊องอุ้ย) ฆ้องขนาดกลาง (เรียกก๊องโหยง) ฉาบใหย่ (เรียกสว่า) กลองขนาดเล็กหุ้มสองหน้าที่เรียกว่า “กลองตะหลดปด” และกลองแอว ชื่อวงตึ่งนงได้มาจากเสียงกลองแอวที่มีเสียง”ตึ่ง”รับกับฆ้องที่มีเสียง “นง” ใช้ประโคมในงานบุญของวัด ขบวนแห่ครัวทานและประกอบการฟ้อนเล็บ สะบัดชัย สะบัดชัย เป็นชื่อของกลองประเภทหนึ่ง แต่เดิมใช้ตีเป็นสัญญาณบอกเหตุ เป็นสัญญาณโจมตีข้าศึกและตีในงานรื่นเริงต่อมาใช้ตีเป็นพุทธบูชา และประโคมในงานบุญของวัด นอกจากนี้ยังพบว่า “สะบัดชัย” เป็นชื่อทำนองที่เรียกว่า”ระบำ” ในการตีกลอง “ปูจา”(ออกเสียงปู๋จา) อีกด้วย กลองสะบัดชัยที่มีคานหามในปัจจุบัน พัฒนามาจากการย่อส่วนของกลองปูชา เพื่อให้มีน้ำหนักเบาสะดวกในการหาม การย่อส่วนตอนแรกย่อเหมือนของเดิม กล่าวคือ มีกลองเล็ก อีก 2-3 ใบ ที่เรียกว่า “ลูกตูบ” มีไม้ไผ่ที่มีลักษณะ บางตีประกอบจังหวะเรียกว่า “ไม้เสะ” ภายหลังเมื่อมีการใช้ชั้นเชิงและลีลาการต่อสู้ ซึ่งใช้อวัยวะที่เป็นอาวุธของผู้ตีเข้าไปด้วย จึงตัดลูกตูบและไม้เสะออก การตีกลองสะบัดชัยในปัจจุบันใช้กลองใหญ่ขนาดพอห้ามได้ 1 ใบ ฉาบขนาดกลางและฆ้องตั้งแต่ 2-9 ใบ ลีลาในการตีมีการใส่ชั้นเชิงในการต่อสู้และความสามารถใช้อวัยวะที่เป็นอาวุธ เช่น ศอก เข่า เท้า หมัด ตีประกอบด้วยโอกาสที่ตีส่วนใหญ่จะตีในขบวนแห่ ถิ้งบ้อม ถิ้งบ้อม ชื่อวงกลองประเภทหนึ่ง มีลาลีในการตีกระชับและเร้าใจ เครื่องตีประกอบด้วย กลอง(คล้ายกองยาวภาคกลาง)3-5 ใบ กลองสองหน้าที่เรียก “กลองตัด” 1 ใบ ฉาบขนาดกลาง 1 คู่ ฉาบเล็กที่เรียก”ฉาบล่อ” 1 คู่ สิ้งหม้อง สิ้งหม้อง เป็นชื่อของวงกลองประเภทหนึ่ง ซึ่งมีลีลาในการตีง่ายๆ ไม่ซับซ้อน เครื่องตีประกอบด้วยกลองสิ้งหม้อง ฉาบขนาดกลางและฆ้อง 3-5 ใบ ใช้ตีในขบวนแห่ครัวทาน ตีประกอบการฟ้อนเชิง ฟ้อนดาบ และขบวนแห่ทั่วไป   Lanna Percussion Music Disc 4 Produced by : The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University Supported by : - Dr. Santi Pongpandecha, Chairman of Chiang Mai University Promotion Committee Tourism Authority of Thailand : North office, Region 1 Teng – ting This piece of Music is played by loud wind and percussion instruments including xylophones and a large-sized drum called teng-ting. It is usually played in various religious ceremonies and is also used to accompany the martial arts dances. Mong-soeng This is the traditional music of the Shans which is popular in Mae Hong Son, Chiang Mai , Lamphun and Lumpang provinces. Mong refers to gongs and soeng means a set. Together it means a set of gong which is played together in sets of 5 to 9 pieces. It is often played in merit making event including ordination ceremonies. Pu-che Pu-che is the name of a long drum that is widely used by the Shans. This plece is played to accompany martial arts dances. Tueng-nong This is a set of wind and percussion instruments including a large-sized gong called gong-ui. It is used to accompany fingernail and candle dances or to lead a merit-making procession to the temple. Sabat-chai Sabat-chai is the name of one type of drum originally used to signal an enemy attack and others. At the present time it is played on auspicious occasions in the temple with lively and artful drummers who stylize the drumming with the martial arts dances. Thing-bom Thing-bom is another percussion type of music that is played at a fast and lively tempo. Sing-mong Sing-mong is a type of drum that does not require elaborate rhythm. It is used to accompany sword dances and also to lead processions.   แผ่น 4 วงกลองล้านนา Lanna Percussion Music นักดนตรีผู้บรรเลงวงเต่งถิ้ง(พ.ศ.2537) นายระเด่น ดวงเดชา – กลองเต่งถิ้ง นายอุดม ดวงเดชา  - กลองป่งโป้ง นายหมื่น จันตะนา – แนหน้อย นายอดุลย์ ดวงเดชา – แนหลวง นายบุญเชิด ฃำวัง – ระนาดเอก นายประเสริฐ ไชยวัณณ์ – ระนาดทุ้ม นายสุพจน์ ฃำวัง – ระนาดเหล็ก นายอินทรัตน์ มูลชัยลังการ์ – ฆ้องวงใหญ่ นายประดิษฐ์ ดวงเดชา – ฆ้องวงเล็ก นางวรรณา จันตะนา – ฉาบ นายอินถา ไชยวรรณ – ฉิ่ง ถิ้งบอม นายชาย ชัยชนะ (ประสานงาน) – กลอง นายเนตร พันธ์ชัยศรี  - กลอง นายธวัชชัย เทพวงศ์ – กลอง นายชีพ ชัยชนะ- กลองตัด นายประเสริฐ สุวรรณปัญญา – ฉาบ นายสนั่น ธรรมธิ(ประสานงาน) – ฉาบล่อ นักดนตรีวงกลองต่างๆ มองเซิง นายเนตร พันธ์ชัยศรี – กลองมองเซิง นายเอนก พันธ์ชัยศรี – ฉาบ ปู่เจ่ นายชาย ชัยชนะ – กลองปู่เจ่ นายมานพ(พัน) ยารณะ – ฉาบ ตึ่งนง นายชีพ ชัยชนะ – กลองแอว นายชาย ชัยชนะ – กลองตะหลดปก นายประเสริฐ สุวรรณปัญญา – ฉาบ นายอินทรัตน์ มูลชัยลังการ์ – แนหน้อย นายอดุลย์ ดวงเดชา – แนหลวง สะบัดชัย นายสนั่น ธรรมธิ – กลองสะบัดชัย นายมานพ(พัน) ยารณะ – ฉาบ จัดทำโดย สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University สนับสนุนโดย ดร.สันติ พงษ์พันธ์เดชา ประธานกรรมส่งเสริมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Dr. Santi Pongpandecha, Chirman of Chiang Mai University Promotion Committee การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เขต 1 Tourism Authority of Thailand : North office, Region ผลิตและเผยแพร่(ครั้งที่ 4) เมษายน พ.ศ. 2548
เผยแพร่เมื่อ 21 เมษายน 2563 • การดู 13,555 ครั้ง
ดนตรีสะล้อ-ซึง วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง แผ่น 3
ดนตรีสะล้อ-ซึง วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง แผ่น 3
ดนตรี สะล้อ – ซึง วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง Traditional Northern Thai Music แผ่น 3 สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   ตั้งเชียงใหม่ ตั้งเชียงใหม่ เป็นชื่อทำนองสำหรับประกอบการขับซอ (เฉพาะที่ใช้วงปี่ชุม) ทำนองแรกก่อนทำนองอื่นใดทั้งหมด และเมื่อขับซอทำนองต่อไป คือ “ชาวปุ” จะใช้ทำนองเชียงแสน เป็นทำนองเชื่อม เรียกว่า “กลายเชียงแสน” ชาวปุ ชาวปุ หรือที่เรียกกันว่า “จะปุ” เป็นทำนองที่สองที่ช่างซอ ใช้ขึ้นบทซอรับจากทำนองเชียงแสน ละม้าย ละม้าย เป็นทำนองที่ช่างซอใช้ประกอบการซอเป็นทำนองที่สาม เพลงตั้งเชียงใหม่ ชาวปุ และละม้าย ปกติใช้วงปี่ชุมบรรเลง การนำวงสะล้อ-ซึง มาบรรเลง ในครั้งนี้ นับเป็นงานสร้างสรรค์ ที่ทำให้ท่วงทำนองเพลงได้อรรถรสแปลกออกไป น้อยไชยา เพลงน้อยไชยา ทำนองเดิมคือ “ล่องน่าน” เมื่อแต่งคำซอเรื่องพระลอ โดยอาศัพทำนองนี้จึงเรียก”พระลอ” ต่อมาเมื่อพระราชชายาดารารัศมีโปรดให้ท้าวสุนทรพจนกิจแต่งคำซอเรื่องน้อยไชยาขึ้นโดยใช้ทำนองนี้ โดยเฉพาะตอนไชยาและแว่นแก้วนัดพบกันที่ห้วยแก้วและเพื่อให้สอดคล้องกับการฟ้อนในฉากนี้จึงมีนักดนตรีฝีมือดีแต่งสร้อยเพลง (Introduction) ก่อนการขับซอ ทำนองนี้จึงนิยมเรียกชื่อทำนองอีกชื่อหนึ่งคือ “น้อยไชยา” ซอเงี้ยว ซอเงี้ยว เป็นทำนองที่ใช้ประกอบในการขับซออีกทำนองหนึ่ง ซึ่งนิยมขับซอในเนื้อหาเศร้าสลดปัดเคราะห์ อวยชัยให้พร และอำลาเจ้าภาพ ซอน่าน ซอน่าน เป็นทำนองสำหรับการขับซอแบบเมืองน่าน ช่างซอส่วนใหญ่นิยมใช้ซอดำเนินเรื่องทำนองที่บรรเลงนี้แบ่งเป็น 3 ท่อน ท่อนแรกสำหรับขึ้นต้นก่อนขับซอ ท่อนที่สองเป็นดนตรีประกอบการขับซอและท่อนที่สามสำหรับเชื่อมรับบทใหม่ ลับแล ลับแล เป็นทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการขับซอเมืองน่าน จากการให้สัมภาษณ์ของนายไชยลังกาเครือเสน ศิลปินแห่งชาติ ครูซออาวุโสของจังหวัดน่าน (2448-2535) บอกว่าท่านเป็นเป็นผู้นำทำนองนี้มาจากอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วคิดเนื้อใส่ทำนองและถ่ายทอดแก่ลูกศิษย์ ชื่อเพลง บางแห่งเรียก “ลับแลง” ตามชื่อเดิมของเมืองลับแล สำหรับช่างซอ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ เรียกทำนองนี้ว่า “ล่องน่าน” สาเหตุคงเป็นเพราะเห็นว่ามาจากเมืองน่าน เสเลเมา เสเลเมา เป็นทำนองเพลงที่ตัดตอนมาจากทำนองซอ “เงี้ยวลา” กล่าวคือ ตัดตอนเอาเฉพาะท่อนที่หนี่งมาเท่านั้น ที่ได้ชื่อเสเลเมาเพราะคำร้องมักขึ้นต้นด้วยคำว่า “เสเลเมา”   Traditional Northern Thai Music Disc 3 Produced by: The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University Supported by: Dr. Santi Pongpandecha, Chairman of Chiang Mai University Promotion Committee - Tourism Authority of Thailand: Northern office, Region 1 "Tang Chiang Mai or "Starting from Chiang Mai" This is a song without original lyric attached and is used as part of a Northern Thai musical drama called so. Chao Pu Also known as "Cha-pu," this song is used to accompany the introductory recitation in the so musical drama. Lamai This is the third piece of the suite used to accompany the musical drama so. Here the addition of salo and sueng, two types of Lan Na string instrument, gives a distinctive flavour to the song which is usually played solely on wind instruments. Noi-Chaiya Noi-Chaiya is the name of a hero in a musical play supported by Princess Dararatsami, the royal consort of King Rama V. Thao Sunthonphotchanakit wrote the lyrics to the song using the original melody of Long Nan. So Ngiao Accompanying the so musical drama, this song is often used to emphasize sorrow and to give blessings. So Nan This is the last piece of a three-piece suite used in the so musical drama in Nan province. Lap-lae Lap-lae is the name of a district in Uttraradit province where Mr. Chailangka Khruea-sen, a national artist from Nan, discovered the song. This song is also used as part of the so musical drama. Se-le-mao This song is named after the lyrics that begin with the word 'Se-le-mao." It is taken from part of the suite used in the so. ดนตรี สะล้อ-ซึง วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง แผ่น 3 Tradition Northern Thai Music นักดนตรีวงนาคทันต์เชียงใหม่ (2537) ภานุทัต อภิชนาธง (หัวหน้าวง) – ขลุ่ย สะล้อหน้อย ซึงหลวง อุดม หลีตระกูล – สะล้อหน้อย กลอง สะล้อกลาง ลิปิกร มาแก้ว – สะล้อกลาง ซึงหลวง สมบูรณ์ กาวิชัย – ซึงกลาง สะล้อกลาง ซึงหน้อย วีณา ครุฑเงิน – ซึงหน้อย ซึงหลวง ธนานนท์ ลิขิตอนุรักษ์ – ซึงหลวง วรพันธ์ แสนเขียววงศ์ – กลอง ฉัตรณรงค์ รัตรวงศ์ – ฉิ่ง ณฐพงศ์ งามระเบียบ – ฉาบ ซึงหลวง สนั่น ธรรมธิ(ควบคุมวง) – ซึงหน้อย จัดทำโดย สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University สนับสนุนโดย ดร.สันติ พงษ์พันธ์เดชา ประธานกรรมส่งเสริมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Dr. Santi Pongpandecha, Chirman of Chiang Mai University Promotion Committee การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เขต 1 Tourism Authority of Thailand : North office, Region ผลิตและเผยแพร่(ครั้งที่ 4) เมษายน พ.ศ. 2548
เผยแพร่เมื่อ 21 เมษายน 2563 • การดู 5,100 ครั้ง
ดนตรีสะล้อ-ซึง วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง แผ่น2
ดนตรีสะล้อ-ซึง วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง แผ่น2
ดนตรี สะล้อ – ซึง วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง Traditional Northern Thai Music แผ่น 2 สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่   ผีมดกินน้ำมะพร้าว เพลงผีมดกินน้ำมะพร้าว เป็นเพลงบรรเลงที่ใช้ประกอบการฟ้อนผี โดยเฉพาะการฟ้อนผีมดเพลงนี้จะใช้บรรเลงขณะที่ร่างทรงกำลังดื่มน้ำมะพร้าวตามพิธี ภายหลังนิยมนำไปบรรเลงในการฟ้อนผีอื่นๆ เช่นฟ้อนผีเม็ง ผีเจ้านาย ผีเจ้าบ้าน เป็นต้น ผีมดห้อยผ้า เพลงผีมดห้อยผ้า เป็นเพลงบรรเลงอีกเพลงหนึ่งที่ใช้ประกอบการฟ้อนผีมดโดยพาะในขณะที่ผู้ที่จะฟ้อนกำลังห้อยผ้าตามพิธีของการลงผี มวย เพลงมวย เดิมคือเพลงแขกบรเทศ ซึ่งประพันธ์ทำนองโดยพระประดิษฐ์ไพเราะ (ครูมีแขก) ชาวล้านนานำมาประกอบการชกมวย โดยบรรเลงในอัตราจังหวะ 2 ชั้น ชั่วขณะที่นักมวยไหว้ครูและบรรเลงในอัตราจังหวะชั้นเดียวขณะที่นักมวยชกกัน นอกจากนี้ยังนิยมบรรเลงประกอบการฟ้อนเชิงฟ้อนดาบและหอกอีกด้วย มอญลำปาง เพลงมอญลำปาง เป็นเพลงบรรเลงที่ใช้ประกอบการฟ้อนผีเม็งของชาวลำปาง ซึ่งเรียกเพลงว่า”มอญเก๊าห้า” (มอญต้นหว้า) นายอุดม หลีตระกูล ไปพบเมื่อปี พ.ศ.2536 จึงนำมาเผยแพร่ จนเป็นที่นิยมในเชียงใหม่และลำพูนจึงมีชื่อเรียกตามแหล่งที่มาว่า “มอญลำปาง” ปราสาทไหวยอง เพลงปราสาทไหวยอง เป็นเพลงบรรเลงที่นิยมกันในเขตเมืองยองประเทศพม่า ชาวไทยองแถบนั้นเรียกชื่อเพลงว่า “ปราสาทไหว” นายลิปิกร มาแก้ว ไปพบเมื่อปี พ.ศ.2536 จึงนำมาเผยแพร่ในเชียงใหม่และเรียกชื่อตามแหล่งที่มาว่า “ปราสาทไหวยอง” กล่อมนางนอน เพลงกล่อมนางนอน เป็นเพลงบรรเลงของชาวล้านนาทั่วไป ไม่ปรากฎที่มาและชื่อผู้แต่ง รำวงแม่ปิง กระต่ายลอยคอ เปิดปราสาท เพลงทั้งสามจัดเป็นเพลงรำวง เทียบได้กับเพลงรำโทนของภาคกลาง ซึ่งเป็นที่นิยมในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี   Traditional Northern Thai Music Disc 2 Produced by: The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University Supported by: Dr. Santi Pongpandecha, Chairman of Chiang Mai University Promotion Committee - Tourism Authority of Thailand: Northern office, Region 1   Phi Mot Kin Nam-ma-phrao or "Ancestor Spirit Drinking Coconut juice" This song is used to accompany the ancestor spirit dance, particularly when the spirit mediums are drinking coconut juice before being possessed. Phi Mot Hoi Pha or "Ancestor Spirit Hanging a Cloth" This is another song used to accompany the ancestor spirit dance. Muai or "Boxing' This song was composed by Luang Pradit Phairo, one of the greatest master of Thai music in the 20th century. It is used by the people of Lan Na to accompany the boxing dance as well as other martial arts dances. Mon Lampang This Mon-accented song has its origin in Lampang. Discovered and revived by Mr. Udom Leetrakun in 1993, it has become popular in Chiang Mai and Lamphun. Prasat-wai Yong or 'Yong Moving Castle" In 1993 Mr. Lipikon Makaew made a trip to Yong, a city of the Tai Lue people in Burma, and brought back this song. He promoted it and named it after the city where it originated. Klom-nong-non or "A Lullaby to Invite a Lady to Sleep" This is a song of the Lan Na people that is widely known. Its origin is unknown. Ram-wong Mae-ping, Kra-tai loy kho, Poet Prasat Popularly known at the time when Field Marshal Phibun was Prime minister, these three pieces are used to accompany the Ram-wong or circle dance.   ดนตรี สะล้อ-ซึง วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง แผ่น 2 Tradition Northern Thai Music นักดนตรีวงนาคทันต์เชียงใหม่ (2537) ภานุทัต อภิชนาธง (หัวหน้าวง) – ขลุ่ย สะล้อหน้อย ซึงหลวง อุดม หลีตระกูล – สะล้อหน้อย กลอง สะล้อกลาง ลิปิกร มาแก้ว – สะล้อกลาง ซึงหลวง สมบูรณ์ กาวิชัย – ซึงกลาง สะล้อกลาง ซึงหน้อย วีณา ครุฑเงิน – ซึงหน้อย ซึงหลวง ธนานนท์ ลิขิตอนุรักษ์ – ซึงหลวง วรพันธ์ แสนเขียววงศ์ – กลอง ฉัตรณรงค์ รัตรวงศ์ – ฉิ่ง ณฐพงศ์ งามระเบียบ – ฉาบ ซึงหลวง สนั่น ธรรมธิ(ควบคุมวง) – ซึงหน้อย จัดทำโดย สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University สนับสนุนโดย ดร.สันติ พงษ์พันธ์เดชา ประธานกรรมส่งเสริมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Dr. Santi Pongpandecha, Chirman of Chiang Mai University Promotion Committee การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เขต 1 Tourism Authority of Thailand : North office, Region ผลิตและเผยแพร่(ครั้งที่ 4) เมษายน พ.ศ. 2548
เผยแพร่เมื่อ 21 เมษายน 2563 • การดู 3,932 ครั้ง
ดนตรีสะล้อ-ซึง วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง แผ่น1
ดนตรีสะล้อ-ซึง วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง แผ่น1
ดนตรี สะล้อ – ซึง วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง Traditional Northern Thai Music แผ่น 1 สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ปราสาทไหว เพลงปราสาทไหว เป็นเพลงเก่าแก่ของล้านนา ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง มีชื่อเรียกแตกต่างกันไปบ้างในบางทิ้งถิ่นเช่น เพลงแห่ เพลงแหย่ง และเพลงลาก เป็นต้น ฤาษีหลงถ้ำ เพลงฤาษีหลงถ้ำ เป็นเพลงโบราณอีกเพลงหนึ่งของล้านนาไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง ทำนองเพลงที่มี แต่เดิมนั้นมีจังหวะลงตัวแบบล้านนาหากำม่เอาหน้าทับกลองในอัตราจังหวะสองชั้นของดนตรีไทยมาจับเพราะหากเอาเกณฑ์ของดนตรีมาจับจะขาดหน้าทับไปจังหวะ ต่อมาเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่เห็นว่าควรเพิ่มเติม จึงเพิ่มตรง ----ร ฟซฟด จากครั้งเดียวเป็น 2 ครั้งเป็น ---ร ฟซฟด ---ร ฟซฟด พม่า เพลงพม่า เป็นทำนองเพลงที่ใช้บรรเลงประกอบการขับซอ ชื่อเพลงบางแห่งเรียกเพลง”เจ้าสุวัตร”หรือ”นางบัวคำ” สาเหตุเพราะท้าวสุนทรพจนกิจแต่งบทซอเรื่อง “เจ้าสุวัตร-นางบัวคำ” โดยใช้ทำนองนี้ พระลอเลื่อน เพลงพระลอเลื่อน หรือบางแห่งเรียก “ล้อเลื่อน” เป็นเพลงเดียวกับเพลง “นาคบริพัตร” ซึ่งแต่งโดยครูเทวาประสิทธิ์ พาทยโกศล เมื่อชาวล้านนานำมาบรรเลงทำให้สำเนียงออกทางล้านนา ซึ่งมิได้ผิดเพี้ยนจากของเดิมมากนัก ปุมเหม้นหรือปุมเป้ง เพลงปุมเหม้น หรือ ปุมเป้ง ไม่ปรากฎนามผู้แต่ง เพลงนี้มีท่วงทำนองคล้ายครึงกับเพลงมากโดยเฉพาะหมากตัดช่วง ดลซม –รด ซดรม –ซ-ล ดลซม ออกจะมีความคล้ายครึงจน อาจกล่าวได้ว่าเป็นเพลงเดียวกันเลยทีเดียวเพลงนี้ยังเป็นความสับสนเรื่องชื่อเพลงอยู่ บางแห่งเรียก “ขงเบ้ง” “ปุ๋มเปง” ฯลฯ แห่หน้อย เพลงแห่หน้อย เป็นเพลงบรรลงที่มีทางเพลงคล้ายเพลงปราสาทไหว นิยมบรรเลงแพร่หลายในเขตอำเภอ เชียงของ จังหวัดเชียงราย ชมรมพื้นบ้านล้านนา สโมสรนักศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่ได้นำมาเผยแพร่เมื่อพ.ศ.2527 จนเป็นที่นิยมในเขตจังหวัดเชียงใหม่และลำพูน รอบเวียง เพลงรอบเวียง เป็นทำนองเพลงที่มีสำเนียงคล้ายเพลงล่องแม่ปิง ไม่ปรากฎนามผู้แต่ง เพลงนี้มีชื่อเรียกต่างกันออกไป เช่น มอญคำ มอญดำ สร้อยเวียงพิงค์ กล่องนางนอน และลาวเดินดง เป็นต้น เพลงรอบเวียงแต่เดิมมีท่อนเดียว ต่อมามีผู้แต่งเพิ่มอีก 2 ท่อน และเรียกชื่อว่า “ แหย่งลำพูน” ล่องแม่ปิง เพลงล่องแม่ปิง เป็นทำนองเพลงที่ไพเราะอ่อนหวาน ไม่ปรากฎนามผู้แต่ง ปั่นฝ้าย เพลงปั่นฝ้าย เป็นทำนองประเภทการขับซอทำนองหนึ่งของเมืองน่าน ผู้แต่งคือ นายไชยลังกา เครือเสน ช่างซอศิลปินแห่งชาติ(2448-2535)โดยปรับปรุงจากเพลงรำวงโบราณชื่อเพลง “ชักใบ” ต่อมาเจ้าสุนทร ณ เชียงใหม่ ได้แต่งท่อนที่สองเพิ่มเติมอีก เพลงปั่นฝ้ายทางบรรเลงจึงมีสองท่อน ปัจจุบันเพลงนี้นิยม ใช้บรรเลงประกอบการฟ้อนสาวไหม กุหลาบเชียงใหม่ เพลงกุหลาบเชียงใหม่ เป้นเพลงที่มีท่วงทำนองอันไพเราะและอ่อนหวานอีกเพลงหนึ่ง ไม่ปรากฎนามผู้แต่ง อื่อ อื่อเป็นทำนองโบราณของล้านนา ใช้ประกอบการขับซอ ไม่ปรากฎชื่อผู้แต่ง เพียงแต่สันนิษฐานกันว่ามี วิวัฒนาการมากจากเพลงกล่อมเด็ก นิยมใช้ประกอบการขับซอในเนื้อหาพรรณาทั่วไป ตลกขบขัน และอวยชัยอวยพร ทำนองนี้นิยมเล่นในวงปี่ชุมและวงสะล้อ-ซึง โดยทั่วไปจังหวะเพลงนี้ลงจังหวะแบบล้านนา แต่หากเอาหน้าทับกลองในอัตราสองชั้นแบบดนตรีไทยมาจับจะไม่ลงจังหวะ   Traditional Northern Thai Music Disc 1 Produced by: The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University Supported by: Dr. Santi Pongpandecha, Chairman of Chiang Mai University Promotion Committee - Tourism Authority of Thailand: Northern office, Region 1   "Prasat-wai or "Moving Castle" This is an old Lan Na song whose origin is unknown. It is widely popular in all upper Northern Thai provinces with variations of names in each locality. This song is usually played on different occasions and often at funeral rites. "Ruesi Long Tham or "A Hermit lost in a Cave" This is another old Northern Thai song by an anonymous composer. "Phama or Burma” Composed with a Burmese accent. This song is used to accompany a Northern Thai dramatic play called so. Phralo-luean Known in Central Thailand as "Nak Boriphat." This song is played on Northern Thai musical instruments retaining the original melody. Pum-men or Pum-peng This is also another old and anonymous Lan Na composition. Hae-noi This is originally a song widely known in Chiang Khong District, Chiang Rai Province. Later Chiang Mai University students' Northern Thai Music and Dance club played and promoted successfully making it popular in Chiang Mai and Lamphun. The melody is very similar to that of Prasat-wai. Rop-wiang or "Around Town" Although the composer is anonymous. It is evident that this is Lao-accented song known elsewhere by different titles. Long Mae Ping or "Down the Ping River" This is another song in the Laotian style and is anonymous. Pan Fai or "Cotton Yarn Spinning" Mr. Chailangka Khruea-sen, a nationally recognized artist, composed this song using the ancient tune known as 'Chak Bai." This song was originally used as part of musical drama in Nan province. At the present time it is used to accompany 'Fon Sao Mai'or the Cotton Yarn Drawing Dance. Kulap Chiang Mai or 'Rose of Chiang Mai" Composed in the Laotian style by an unknown artist, this song is played at a slow tempo expressing romantic and sweet qualities. Ue Despite its unknown origin, this song is believed to have derived from a lullaby which was popular in the old times. Today it is played on auspicious occasions.   ดนตรี สะล้อ-ซึง วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง แผ่น 1 Tradition Northern Thai Music นักดนตรีวงนาคทันต์เชียงใหม่ (2537) ภานุทัต อภิชนาธง (หัวหน้าวง) – ขลุ่ย สะล้อหน้อย ซึงหลวง อุดม หลีตระกูล – สะล้อหน้อย กลอง สะล้อกลาง ลิปิกร มาแก้ว – สะล้อกลาง ซึงหลวง สมบูรณ์ กาวิชัย – ซึงกลาง สะล้อกลาง ซึงหน้อย วีณา ครุฑเงิน – ซึงหน้อย ซึงหลวง ธนานนท์ ลิขิตอนุรักษ์ – ซึงหลวง วรพันธ์ แสนเขียววงศ์ – กลอง ฉัตรณรงค์ รัตรวงศ์ – ฉิ่ง ณฐพงศ์ งามระเบียบ – ฉาบ ซึงหลวง สนั่น ธรรมธิ(ควบคุมวง) – ซึงหน้อย จัดทำโดย สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University สนับสนุนโดย ดร.สันติ พงษ์พันธ์เดชา ประธานกรรมส่งเสริมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ Dr. Santi Pongpandecha, Chirman of Chiang Mai University Promotion Committee การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เขต 1 Tourism Authority of Thailand : North office, Region ผลิตและเผยแพร่(ครั้งที่ 4) เมษายน พ.ศ. 2548
เผยแพร่เมื่อ 21 เมษายน 2563 • การดู 12,343 ครั้ง