8 มีนาคม 2022
7k
 

วัฒนธรรมการกินล้านนา

 

การรับประทานอาหารของชาวล้านนา ปกติรับประทานเป็นมื้อ ซึ่งทั่วไปเรียก คาบ” มีอยู่ มื้อใหญ่ๆ คือมื้อเช้า เรียก ข้าวงาย” มื้อกลางวัน เรียก ข้าวตอน” และมื้อเย็น เรียกว่า ข้าวแลง” ในกรณีที่ต้องลงมือทำงานหนัก เช่น ไถนา นวดข้าว ต้องทำงานแต่เช้ามืดต้องเพิ่ม ข้าวเถาะ” คืออาหารรองท้องสำหรับผู้ลงงานในตอนเช้าด้วย

            อาหารที่รับประทาน อาหารหลักคือ ข้าวเหนียว ซึ่งเรียกชื่อเฉพาะว่า ข้าวหนึ้ง” มีกับข้าวอย่างน้อย อย่าง และมักมีน้ำพริกประจำมื้ออยู่เสมอ

            เฉพาะข้าว จะมีการ หม่า” คือแช่ หรือหมักไว้หนึ่งคืน รุ่งเช้าก็นำมานึ่งแล้วเก็บไว้ในภาชนะ อาทิ กล่องข้าว ซึ่งเป็นภาชนะสาน หรือไหข้าวที่ใช้นึ่ง เก็บไว้รับประทานตลอดทั้ง มื้อ 

            ส่วนอาหารที่เป็นกับ มีทั้งอาหารประเภทแกง ยำ ตำ คั่ว ต้ม นึ่ง ปิ้ง หรือ ทอดเป็นต้น

            สำหรับสถานที่รับประทาน ส่วนใหญ่จะเป็นชานเรือน แต่ถ้ามีแขกมาร่วม มักรับประทานที่ เติ๋น” คือบริเวณที่โล่งคู่กับห้องนอน

            พฤติกรรมในการรับประทาน ปกติจะล้อมวงรับประทานกันทั้งครอบครัว โดยมีภาชนะสำหรับวางอาหารเป็นถาดที่ยกระดับขึ้นสูงเหนือพื้น เรียกว่า โตก” หรือ ขันโตก การรับประทานจะต้องให้ผู้อาวุโส สูงสุด เช่น ปู่ ย่า ตา ยาย หรือหัวหน้าครอบครัว เป็นผู้เริ่มก่อนเสมอเป็นธรรมเนียม หากผู้เริ่มยังไม่พร้อม ก็ยังรับประทานไม่ได้ 

            ก่อนรับประทาน มักมีการลูบศีรษะ หรือหากมีอาหารที่มีน้ำมันเช่น ทอด หรือผัด ก็มักเอามือป้ายส่วนที่มีน้ำมันมาทาฝ่ามือก่อนเพื่อให้ฝ่ามือลื่นข้าวเหนียวจะได้ไม่ติดมือ เฉพาะเด็กๆ พ่อแม่มักปั้นข้าวยื่นให้ และถ้าเป็นเด็กเล็กจะทำเป็นคำๆ ไว้ให้หยิบใส่ปากโดยสะดวก

            กริยาอาการในการรับประทานจะใช้ข้าวปั้นเป็นคำจิ้มอาหารหรือใช้ก้อนคำข้าวคีบอาหารส่งเข้าปาก บางครั้งก็ใช้ช้อนตักน้ำแกงขึ้นซด เมื่อรู้สึกผืดคอ 

            การรับประทานอาหารแต่ละมื้อ จะมีธรรมเนียมปฏิบัติซึ่งบางอย่างถือเป็นข้อห้าม บางอย่างถือเป็นมารยาทในการรับประทาน ดังนี้

            - ไม่รับประทานก่อนผู้ใหญ่

            - ไม่พูดคุยส่งเสียงดัง ตามคำพังเพยว่า หื้อดักเมื่อกินข้าว ดักเมื่อเข้านอน คือให้ ดัก” (เงียบ) ขณะกินข้าว เงียบเมื่อจะเข้านอน

            - ไม่พูดสิ่งที่น่ารังเกียจ เช่น ของเน่าเหม็น อุจจาระ เป็นต้น

            - ไม่ทำอาการที่น่ารังเกียจ เช่น ผายลม ถ่มถุย สั่งน้ำมูก เป็นต้น

            - ไม่ทำอาการที่ไม่สำรวม เช่น หัวเราะ หยอกล้อ เล่นกัน

            - ไม่ทะเลาะวิวาทกัน

            - ไม่นินทาผู้อื่น

            - ไม่ดุด่า ตำหนิ หรือสั่งสอนกันในวงข้าว

            - ไม่เคาะถ้วยชาม

            - ไม่ ยอแคม” คือ ยกถ้วยขึ้นซดน้ำแกง

            - ไม่ใช้ปากเล็มข้าวที่ติดมือ

            - ไม่ กินบกจกลง” คือคดข้าวกินเฉพาะตรงกลาง

            - ไม่กล่าวคำว่า กั๊ดต๊อง” (คัดท้อง – แน่นท้องเมื่อรับประทานอาหารอิ่มแล้ว

            - ไม่ สกหม้อแกง” คือ หยิบอาหารในหม้อกินลับหลังคนอื่น

            

            เมื่อเสร็จสิ้นการรับประทานอาหารแล้ว จะเก็บสำรับอาหารในส่วนที่เหลือ เพื่อเก็บไว้ในมื้อต่อไป โดยเฉพาะ “น้ำพริกตาแดง” จะคว่ำถ้วยลงเพื่อให้น้ำพริกอยู่ได้นาน เป็นการถนอนอาหารไปด้วยในตัว ส่วนอาหารที่เหลือและคิดว่าไม่เก็บไว้กิน ก็จะนำไปเทลง หม้อข้าวหมู” สำหรับเป็นอาหารเลี้ยงหมูต่อไป

            สิ่งที่เป็นวัฒนธรรมอีกอย่าง คือ หลังจากดื่มน้ำหลังอาหารและมักไปมวนบุหรี่สูบพร้อมอมเหมี้ยงอย่างสุขสำราญ

 

ข้อมูลจากหนังสือ ร้อยสาระ สรรพล้านนาคดี เล่ม 3 เขียนโดย อาจารย์สนั่น ธรรมธิ ผู้เชี่ยวชาญด้านศิลปวัฒนธรรม