ว่าว
ว่าวเป็นเครื่องเล่นชนิดหนึ่งทำด้วยกระดาษสำหรับปล่อยให้ลอยไปตามลม ทั้งนี้ ว่าว ในล้านนามี 2 ประเภท คือชนิดที่ใช้สายเชือกยึดไว้ให้ดึงตัวสูงขึ้นไปในอากาศ เรียกว่า ว่าว หรือ ว่าวลม และชนิดที่ทำเป็นถุงรับความร้อนจากควันไฟ เพื่อพยุงให้ลอยขึ้นไปในอากาศได้ ได้เรียก ว่าวฅวั่น ว่าวรม หรือ ว่าวฮม และตอนหลังมักมีผู้เรียกว่า โคมลอย
ว่าวฅวัน ว่าวรม (อ่าน “ว่าวฮม” แต่ก็มีผู้ออกเสียงเป็น “ว่าวลม” และเขียนว่าวลมอีกด้วย) เป็นเครื่องเล่นที่ต้องทำกันอย่างจริงจัง เพราะต้องลงทุนและทำในรูปแบบที่ละเอียด มิฉะนั้นว่าวจะบขึ้น คือไม่ยอมลอยขึ้นไปในอากาศ
ว่าวฅวันนิยมทำกันอยู่ 2 แบบคือ ว่าวสี่แจ่ง คือว่าวที่ทำเป็นทรงสี่เหลี่ยม และว่าวมนคือว่าวที่ทำเป็นทรงมนทางด้านหัวและด้านท้าย
ว่าวสี่แจ่ง
ว่าวสี่แจ่ง ที่นิยมทำกันนั้นจะใช้กระดาษว่าว คือกระดาษสีที่เนื้อบางแน่นและเหนียว โดยใช้กระดาษว่าวนี้จำนวน 36 แผ่นมาต่อกันเข้าเป็นหกด้าน คือด้านข้างทั้งสี่รวมทั้งด้านบนและล่างด้านละ 6 แผ่น ส่วนที่สำคัญที่สุดของว่าวนี้ก็คือด้านปาก ในการทำปากว่าวนั้น ให้พับครึ่งกระดาษสองครั้ง เพื่อหาจุดศูนย์กลาง นำเอาเชือกหรือด้ายมาวัดจากจุดศูนย์กลางไปหาขอบกระดาษ แบ่งเชือกออกเป็นสามส่วน ยกมาใช้เพียงส่วนเดียวแล้วแบ่งเป็นสามส่วนอีกครั้งหนึ่ง แล้วตัดสามส่วนนั้นให้เหลือเพียงสองส่วนเพื่อเป็นความกว้างของปากว่าว ตัดกระดาษออกเป็นวงกลมให้มีขนาดย่อมกว่าปากว่าวเล็กน้อย จากนั้นนำเอาไม้ไผ่ยาวประมาณ 1.20 เมตร มาเหลาเป็นเส้นกลมขนาดประมาณครึ่งเซนติเมตร แล้วขดเป็นวงกลมตามขนาดที่กำหนดและผูกยึดไม้ขอบปากว่าวแล้วพับกระดาษขึ้นมาปิดด้วยกาวหรือแป้งเปียก ด้านก้นของว่าวสี่แจ้งนั้น จะทำจุกไว้ตรงกลางเพื่อที่จะใช้ไม้ส้าว(ไม้ที่มีขนาดยาว) สอดไว้ในตอนรมด้วยควันเมื่อจะปล่อยว่าว ทั้งนี้สล่าหรือช่างบางคนอาจไม่ทำหมงหรือจุกดังกล่าวก็ได้ เมื่อได้ส่วนปากและส่วนก้นเรียบร้อยแล้วก็จะนำกระดาษในแต่ละด้านมาต่อขึ้นรูปเป็น ว่าวสี่แจ่ง
ว่าวมน
ว่าวมน คือว่าวทรงมนนั้นนิยมใช้กระดาษว่าวอย่างน้อย 64 แผ่น สำหรับทำส่วนปากและก้นอย่างละ 12 แผ่น ส่วนด้านข้างนั้นจะต้องใช้กระดาษ 40 แผ่นด้วยกัน หากจะทำให้ใหญ่กว่านี้จะต้องทำให้ได้สัดส่วนที่ลงตัวกันได้พอดี
สำหรับผู้ที่เกิดในปีเสีดหรือปีจอ(ปีหมา)นั้น ตามธรรมเนียมชาวล้านนาถือว่าชูธาตุ หรือครั้งที่วิญญาณมาปฏิสนธินั้นจะพักอยู่ที่เจดีย์จุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์เสียก่อน ดังนั้นผู้ที่เกิดในปีเส็ด(ปีหมา)จะถือว่าพระธาตุประจำปีเกิดของคนคือพระธาตุเจ้าจุฬามณี เมื่อเดินทางไปไหว้พระธาตุปีเกิดของตนไม่ได้ก็มักทำว่าวให้นำเครื่องสักการะของตนไปแทน โดยจัดทำสะทวง (อ่าน "สะตวง") คือกระบะบัตรพลีซึ่งบรรจุเครื่องบูชาต่างๆ ผูกไปกับปากว่าวด้วย และต่อมาก็มีผู้จัดทำกระบะบัตรพลีเช่นเดียวกันฝากไปกับว่าวเพื่อเป็นการสะเดาะเคราะห์ของตนก็มี
ทั้งนี้พบว่ามักจะมีการเขียนที่กระดาษปะไว้ที่บริเวณปากว่าวมีใจความทำนองในที่ว่า บอกชื่อและที่อยู่ของเจ้าของว่าว เหตุผลในการทำว่าวครั้งนั้น และอาจบอกให้นำป้ายดังกล่าวไปรับเงินรางวัลจากเจ้าของว่าวก็มีวาระที่จะปล่อยว่าว หรือรมว่าว (อ่าน "ฮมว่าว") นั้นคือในวันยี่เพง (อ่าน "ญี่เป็ง") คือวันเพ็ญเดือนยี่ ซึ่งตรงกับวันเพ็ญเดือนสิบสองของไทยภาคกลาง พอถึงเวลาสาย น้ำค้างแห้งแล้ว ชาวบ้านจะทำสะทวง (อ่าน "สะตวง") คือกระบะบัตรพลีขนาดเล็กบรรจุเครื่องพลีกรรมห้อยไว้ที่ปากของว่าวโดยกล่าวเป็นสองนัยว่า เพื่อไปบูชาพระธาตุเกศแก้วจุพามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และบ้างก็ว่าเพื่อส่งเคราะห์ให้ลอยไปเสียชาวบ้านมักจะนำว่าวไปรมหรือปล่อยที่ลานหน้าวิหาร
ว่าวไฟ
ว่าวไฟ เป็นเครื่องเล่นที่ปล่อยให้ลอยด้วยหลักเดียวกันกับ ว่าวรม หรือว่าวควัน เพียงแต่จะปล่อยว่าวไฟกันเฉพาะในกลางคืนเท่านั้น วิธีทำว่าวไฟก็เหมือนกับการทำว่าวรม เพียงแต่ว่าวไฟจะมีส่วนปากใหญ่กว่าว่าวรมเท่านั้น
ในปัจจุบัน (พ.ศ.๒๕๓๙) พบว่ามีวิธีการทำว่าวไฟง่ายขึ้นกว่าเดิม โดยใช้กระดายว่าวเพียง ๑๒ แผ่นติดกาวต่อกันเป็นทรงกระบอก ส่วนปากนั้นใช้ไม้ไผ่ยาวประมาณ ๑.๕ เมตร กว้างประมาณครึ่งเซนติเมตร เหลาให้มีส่วนแบนเล็กน้อย ขดเป็นวงกลมขนาดเท่ากับด้านล่างของว่าวไฟ เมื่อติดเข้ากับขอบล่างดังกล่าวแล้วก็พับกระดาษจากส่วนปากขึ้นประมาณเซนติเมตรเพื่อปิดทับขอบไม้ไผ่ ส่วนหัวของว่าวไฟจะใช้กระดาษว่าว ๒ แผ่นตัดให้เป็นวงกลมต่อเข้ากับส่วนปลายของส่วนปลายเข้าแล้วนำไปตากแดดให้แห้งก็เป็นอันเสร็จเรื่องการทำตัวว่าวไฟ
ส่วนแหล่งพลังงานในการยกว่าวไฟให้ลอยขึ้นนั้น แต่เดิมใช้ ขี้ย้า คือชันทำเป็นแท่งกลมหรือทรงกระบอกขนาดประมาณหนึ่งกำมือยาวประมาณหนึ่งศอก ซึ่งเรียกว่า ตวย-ว่าวไฟ หมงขี้ย้า แกนกลาง หรือกระบอง แล้วใช้ลวดมัดให้ฅวยว่าวไฟโผล่เหนือลวดที่มัดสองส่วน และจัดให้ดุ้นชันดังกล่าวไว้ตรงกึ่งกลางของปากว่าวโดยให้ท่อนนั้นหงายขึ้นเมื่อจะปล่อยว่าวไฟนั้นก็ให้นำเอาว่าวไฟที่มีดุ้นชันมัดไว้แล้วนั้นมาวางเอนไว้ เมื่อจุดดุ้นซันมีไฟลุกขึ้นแล้วก็ให้ค่อยๆ ยกว่าวไฟตั้งขึ้นเพื่อให้ส่วนปากของว่าวครอบเอาความร้อนจากดวงไฟไว้ทั้งหมด เมื่อจุดไฟได้ระยะหนึ่งแล้ว อากาศภายในว่าวจะร้อนและเบากว่าภายนอก ทำให้ว่าวลอยขึ้นสู่อากาศได้
กล่าวกันว่า ว่าวตวัน หรือว่าวไฟ ที่ตกลงในที่ดินหรือบนบ้านของผู้ใด ผู้นั้นก็มักจะโชคร้ายเพราะถือว่าเจ้าของว่าวดังกล่าวปล่อยเคราะห์ของตนไปกับว่าวดังกล่าวนั้น แด่ปัจจุบันความเชื่อดังกล่าวลดน้อยลงแล้ว เพราะมีผู้นิยมปล่อยว่าวควันและว่าวไฟเป็นจำนวนมากในโอกาสต่างๆ โดยเฉพาะการปล่อยว่าวไฟนั้นนิยมปล่อยกันทุกโอกาส เช่น งานฉลองปีใหม่ งานฉลองวันคล้ายวันเกิด ฯลฯ โดยสามารถหาซื้อหรือสั่งซื้อว่าวไฟได้จากแม่ค้าในตลาดวโรรส จังหวัดเชียงใหม่ปัจจุบันนิยมเรียกหรือเรียกเพราะไม่รู้ตามแบบภาคกลางโดยเรียกว่าววันว่า "โคมลอย" และเรียก ว่าวไฟ ว่า "โคมไฟ" ทั้งๆ ที่ "โคม" แปลว่าเครื่องใช้ที่ให้แสงสว่างทั้งนี้ การที่คิดว่าว่าวตวันและว่าวไฟเป็นของเล่นที่เป็นมรดกสืบเนื่องกันมานานแล้วนั้น น่าจะไม่ถูกต้อง เพราะกรรมวิธีการผลิตกระดาษของล้านนายังไม่สามารถผลิตกระดาษที่บางและเหนียวได้ กระดาษสาซึ่งผลิตได้ในล้านนานั้น แม้จะบางก็จริงแต่ก็มีรูพรุนไปคลอดทั้งแผ่นจนไม่มีทางที่จะอุ้มความร้อนหรือควันไว้ได้นาน หากจะผลิตกระดาบไม่ให้มีรอยรั่วก็จะต้องทำให้มีลักษณะหนาอย่าง "กระดาษหนังสา" ซึ่งไม่อาจนำมาทำว่าวควันหรือว่าวไฟได้ เพราะมีน้ำหนักมากจนเกินไป ดังนั้นหากจะมีการสันนิษฐานแล้ว ก็น่าจะเป็นไปได้
ข้อมูลจาก : สารานุกรมวัฒนธรรมภาคเหนือ เล่ม 12