ชาวล้านนาในอดีต แม้กระทั่งในปัจจุบัน หากมีคนถามว่า “แลงนี้เยี๊ยะหยังกิ๋นหา” (เย็นนี้ทำอะไรกินจ๊ะ) หากผู้ถูกถามมีเมนูอาหารมื้อเย็นเป็น “ลาบ” ก็จะยืดอกตอบอย่างภาคภูมิใจว่า “ลาบก่า !” (ลาบสิ !)
เพราะการได้กินลาบในครอบครัว นั้นถือว่าเป็นเมนูอาหารที่สุดพิเศษแล้ว
เนื่องจากลาบจะนิยมทำกินกันในโอกาสสำคัญหรืองานเลี้ยงในเทศกาศต่างๆ โดยเฉพาะงานมงคล
นอกจากการทำลาบจะมีวัตดุดิบ และขั้นตอนที่ค่อนข้างละเอียด อาจต้องช่วยกันทำหลายคน และใช้เวลาค่อนข้างมากพอสมควร แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้เลยในขันโตกหรือสำรับในมื้อนั้น นั่นก็คือ “ผักกับลาบ” (ผักแกล้ม) เป็นผักสดนานาชนิดส่วนใหญ่จะหาได้ในท้องถิ่นหรือบริเวณโดยรอบของเรือน โดยเฉพาะสมุนไพรประเภทที่มีกลิ่นหอมฉุน มีรสขม หรือเปรี้ยวฝาด โดยนิยมกินกับลาบ ดังนี้
1. ยอดบ่าปีน (ยอดอ่อนมะตูม) ช่วยขับลม รักษาอาหารท้องเสีย ช่วยลดไข้ แก้อักเสบ
2. ยอดบ่ายม (ยอดอ่อนใบมะยม) ใบช่วยบำรุงประสาท เเละช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ
3. ผักแปม ช่วยแก้อาหารท้องอืด ชาวยให้เจริญอาหาร
4. ผักคาวตอง (พลูคาว) ขับลมในกระเพาะ ภายนอกใช้ทาแก้กลากเกลื้อน
5. ดีปลากั้ง ช่วยแก้เบาหวาน ยอดอ่อนมีรสขมอ่อนๆ ช่วยให้เจริญอาหาร
6. ดีปลีอ่อน หรือ ยอดใบอ่อน ใช้เป็นธาตุ ช่วยขับลมในลำไส้ แก้ท้องร่วง แก้ปวดท้อง แก้อาการท้องอืด
7. เทียนแกลบ ใช้ขับลม อาหารไม่ย่อย ขับปัสสาวะ กระตุ้นความอยากอาหาร แก้ไอ ละลายเสมหะ เเละขับเสมหะ
8. หอมด่วนหลวง (หูเสือ) ยอดอ่อนกินเป็นผักสด ช่วยขับลม ช่วยย่อย ช่วยเจริญอาหาร น้ำคั้นจากใบแก้ปวดหู หูน้ำหนวก
9. ยอดอ่อนใบมะกอก แก้หูอักเสบ แก้ปวดหู แก้ร้อนใน แก้กระหายน้ำ ช่วยทำให้ชุ่มคอ รักษาอาการปวดท้อง รักษาอาการท้องเสีย
10. ผักจีฝรั่ง,หอมป้อมเป้อ (ผักชีฝรั่ง) ช่วยบำรุงกระดูกเเละฟันให้แข็งแรง ช่วยยับยั้งเเละชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
11. ฝักลิ้นไม้เผา (ฝักเพกา) ช่วยบำรุงเเละรักษาสายตา ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ ลดโอกาสเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งได้ ใช้แก้ร้อนใน เเละทำให้ร่างกายอบอุ่นได้ ช่วยในการขับลม