21 เมษายน 2020
5.1k
 

ดนตรีสะล้อ-ซึง วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง แผ่น 3

 

ดนตรี สะล้อ – ซึง

วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง

Traditional Northern Thai Music แผ่น 3

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

 

ตั้งเชียงใหม่

ตั้งเชียงใหม่ เป็นชื่อทำนองสำหรับประกอบการขับซอ (เฉพาะที่ใช้วงปี่ชุม) ทำนองแรกก่อนทำนองอื่นใดทั้งหมด และเมื่อขับซอทำนองต่อไป คือ “ชาวปุ” จะใช้ทำนองเชียงแสน เป็นทำนองเชื่อม เรียกว่า “กลายเชียงแสน”

ชาวปุ

ชาวปุ หรือที่เรียกกันว่า “จะปุ” เป็นทำนองที่สองที่ช่างซอ ใช้ขึ้นบทซอรับจากทำนองเชียงแสน

ละม้าย

ละม้าย เป็นทำนองที่ช่างซอใช้ประกอบการซอเป็นทำนองที่สาม

เพลงตั้งเชียงใหม่ ชาวปุ และละม้าย ปกติใช้วงปี่ชุมบรรเลง การนำวงสะล้อ-ซึง มาบรรเลง ในครั้งนี้ นับเป็นงานสร้างสรรค์ ที่ทำให้ท่วงทำนองเพลงได้อรรถรสแปลกออกไป

น้อยไชยา

เพลงน้อยไชยา ทำนองเดิมคือ “ล่องน่าน” เมื่อแต่งคำซอเรื่องพระลอ โดยอาศัพทำนองนี้จึงเรียก”พระลอ” ต่อมาเมื่อพระราชชายาดารารัศมีโปรดให้ท้าวสุนทรพจนกิจแต่งคำซอเรื่องน้อยไชยาขึ้นโดยใช้ทำนองนี้ โดยเฉพาะตอนไชยาและแว่นแก้วนัดพบกันที่ห้วยแก้วและเพื่อให้สอดคล้องกับการฟ้อนในฉากนี้จึงมีนักดนตรีฝีมือดีแต่งสร้อยเพลง (Introduction) ก่อนการขับซอ ทำนองนี้จึงนิยมเรียกชื่อทำนองอีกชื่อหนึ่งคือ “น้อยไชยา”

ซอเงี้ยว

ซอเงี้ยว เป็นทำนองที่ใช้ประกอบในการขับซออีกทำนองหนึ่ง ซึ่งนิยมขับซอในเนื้อหาเศร้าสลดปัดเคราะห์ อวยชัยให้พร และอำลาเจ้าภาพ

ซอน่าน

ซอน่าน เป็นทำนองสำหรับการขับซอแบบเมืองน่าน ช่างซอส่วนใหญ่นิยมใช้ซอดำเนินเรื่องทำนองที่บรรเลงนี้แบ่งเป็น 3 ท่อน ท่อนแรกสำหรับขึ้นต้นก่อนขับซอ ท่อนที่สองเป็นดนตรีประกอบการขับซอและท่อนที่สามสำหรับเชื่อมรับบทใหม่

ลับแล

ลับแล เป็นทำนองเพลงที่ใช้ประกอบการขับซอเมืองน่าน จากการให้สัมภาษณ์ของนายไชยลังกาเครือเสน ศิลปินแห่งชาติ ครูซออาวุโสของจังหวัดน่าน (2448-2535) บอกว่าท่านเป็นเป็นผู้นำทำนองนี้มาจากอำเภอลับแล จังหวัดอุตรดิตถ์ แล้วคิดเนื้อใส่ทำนองและถ่ายทอดแก่ลูกศิษย์

ชื่อเพลง บางแห่งเรียก “ลับแลง” ตามชื่อเดิมของเมืองลับแล สำหรับช่างซอ โดยเฉพาะในจังหวัดเชียงใหม่ เรียกทำนองนี้ว่า “ล่องน่าน” สาเหตุคงเป็นเพราะเห็นว่ามาจากเมืองน่าน

เสเลเมา

เสเลเมา เป็นทำนองเพลงที่ตัดตอนมาจากทำนองซอ “เงี้ยวลา” กล่าวคือ ตัดตอนเอาเฉพาะท่อนที่หนี่งมาเท่านั้น ที่ได้ชื่อเสเลเมาเพราะคำร้องมักขึ้นต้นด้วยคำว่า “เสเลเมา”

 

Traditional Northern Thai Music Disc 3 Produced by: The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University

Supported by: Dr. Santi Pongpandecha, Chairman of Chiang Mai University Promotion Committee

- Tourism Authority of Thailand: Northern office, Region 1

"Tang Chiang Mai or "Starting from Chiang Mai"

This is a song without original lyric attached and is used as part of a Northern Thai musical drama called so.

Chao Pu

Also known as "Cha-pu," this song is used to accompany the introductory recitation in the so musical drama.

Lamai

This is the third piece of the suite used to accompany the musical drama so. Here the addition of salo and sueng, two types of Lan Na string instrument, gives a distinctive flavour to the song which is usually played solely on wind instruments.

Noi-Chaiya

Noi-Chaiya is the name of a hero in a musical play supported by Princess Dararatsami, the royal consort of King Rama V. Thao Sunthonphotchanakit wrote the lyrics to the song using the original melody of Long Nan.

So Ngiao

Accompanying the so musical drama, this song is often used to emphasize sorrow and to give blessings.

So Nan

This is the last piece of a three-piece suite used in the so musical drama in Nan province.

Lap-lae

Lap-lae is the name of a district in Uttraradit province where Mr. Chailangka Khruea-sen, a national artist from Nan, discovered the song. This song is also used as part of the so musical drama.

Se-le-mao

This song is named after the lyrics that begin with the word 'Se-le-mao." It is taken from part of the suite used in the so.

ดนตรี สะล้อ-ซึง

วงนาคทันต์เชียงใหม่ บรรเลง แผ่น 3

Tradition Northern Thai Music

นักดนตรีวงนาคทันต์เชียงใหม่ (2537)

ภานุทัต อภิชนาธง (หัวหน้าวง) – ขลุ่ย สะล้อหน้อย ซึงหลวง

อุดม หลีตระกูล – สะล้อหน้อย กลอง สะล้อกลาง

ลิปิกร มาแก้ว – สะล้อกลาง ซึงหลวง

สมบูรณ์ กาวิชัย – ซึงกลาง สะล้อกลาง ซึงหน้อย

วีณา ครุฑเงิน – ซึงหน้อย ซึงหลวง

ธนานนท์ ลิขิตอนุรักษ์ – ซึงหลวง

วรพันธ์ แสนเขียววงศ์ – กลอง

ฉัตรณรงค์ รัตรวงศ์ – ฉิ่ง

ณฐพงศ์ งามระเบียบ – ฉาบ ซึงหลวง

สนั่น ธรรมธิ(ควบคุมวง) – ซึงหน้อย

จัดทำโดย

สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

The Center for the Promotion of Arts and Culture, Chiang Mai University

สนับสนุนโดย

ดร.สันติ พงษ์พันธ์เดชา ประธานกรรมส่งเสริมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

Dr. Santi Pongpandecha, Chirman of Chiang Mai University Promotion Committee

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ เขต 1

Tourism Authority of Thailand : North office, Region

ผลิตและเผยแพร่(ครั้งที่ 4) เมษายน พ.ศ. 2548